โรงพยาบาลรัตภูมิ องค์กรหลักด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อประชาชนสุขภาพดี

HS4 SOFTWARE 

ระบบประเมินมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ

สถานพยาบาล :โรงพยาบาลรัตภูมิ

จังหวัด:สงขลา 

เขตบริการสุขภาพที่:12

ระบบประเมินมาตราฐาน ๙ ด้าน

ด้านที่ ๑. ด้านการบริหารจัดการ

 

 เอกสารอธิบายเกณฑ์การประเมินด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ

 

 ลำดับ  เกณฑ์การประเมิน
 1                 นโยบายการจัดการคุณภาพ
 1.1 สถานพยาบาลจัดให้มีนโยบายการจัดการคุณภาพและมีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
 1.2 มีการประกาศนโยบายของผู้บริหารสูงสุดที่ให้ความสำคัญแก่การยกระดับคุณภาพบริการเพื่อประชาชนและมีการดำเนินงาน
 1.3 มีแผนงานและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากร
 1.4 มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงคุณภาพบริการและระบบสนับสนุนบริการ
 2                กระบวนการคุณภาพ
 2.1  มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงคุณภาพบริการและระบบสนับสนุนบริการ
2.2 มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงคุณภาพการบริหารสถานพยาบาล
3.               ผลลัพธ์ของการจัดการคุณภาพ
3.1 มีแผนงานและมีการดำเนินงานเรื่องความพึงพอใจและความมั่นใจของผู้รับบริการและประชาชน
3.2  มีแผนงานและมีผลงานที่แสดงถึงความสุขและความพึงพอใจของบุคลากรในสถานพยาบาล
3.3 มีแผนงานและมีการดำเนินงานที่แสดงถึงชื่อเสียงของสถานพยาบาล

ด้านที่ ๒. ด้านการบริการสุขภาพ

 ลำดับ   เกณฑ์การประเมิน
  ด้านที่ 2 ด้านการบริการสุขภาพ
 1. โรงพยาบาลต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะที่ได้มาตรฐานการประกอบวิชาชีพหรือการประกอบโรคศิลปะ ที่สภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพกำหนดหรือประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
 2. แผนกเวชระเบียน จัดให้มีอุปกรณ์การเก็บเวชระเบียน การเก็บเวชระเบียน และการสำรองข้อมูลตามที่กำหนด
 3.  แผนกผู้ป่วยนอก มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
4 แผนกผู้ป่วยใน จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
5 แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
6 แผนกเภสัชกรรม จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
7 แผนกกายภาพบำบัด จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
8 แผนกเทคนิคการแพทย์ จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
9 แผนกรังสีวิทยา จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
10 แผนกผ่าตัด จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
11 แผนกสูติกรรม จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
12 ระบบรถรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้งานจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และจัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
13 ระบบควบคุมการติดเชื้อ จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
14 หอผู้ป่วยหนัก จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
15 ห้องให้การรักษา จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
16 ห้องผ่าตัดเล็ก จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
17 ห้องตรวจภายในและขูดมดลูก จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
18 ห้องทารกหลังคลอด จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
19 ห้องทันตกรรม จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
20 ห้องไตเทียม จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
21 ห้องซักฟอก จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
22 ห้องโภชนาการ จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
23 ห้องพักศพที่ให้บริการเก็บศพตั้งแต่ 24 ชั่วโมงขึ้นไป จัดให้มีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด
24 ยานพาหนะสำหรับให้บริการนอกโรงพยาบาล ต้องมีอุปกรณ์พร้อมให้บริการครบถ้วนตามที่กำหนด

ด้านที่ ๓. ด้านเกณฑ์การประเมินด้านอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

AR

 หมวดงานสถาปัตยกรรม

 

1  แผนพัฒนาและการวางผังโรงพยาบาล
1.1  มีแผนแม่บท (แผนพัฒนาและวางผังโรงพยาบาลด้านอาคารและสภาพแวดล้อม)
1.2  มีผังบริเวณของโรงพยาบาลที่เป็นปัจจุบัน
2  ทางเข้า-ออกของโรงพยาบาล
   โรงพยาบาลของท่านมีถนนทางเข้า-ออกหลัก     เข้า-ออกคนละทาง   (ตอบข้อ2.2)    เข้า-ออกทางเดียวกัน  (ตอบข้อ2.3) (หากไม่ประเมินข้อใดให้ไปกำหนดเป็น N/A)
2.1  ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาล มีการแบ่งช่องทางสัญจรสำหรับยานพาหนะและผู้สัญจรทางเท้าอย่างชัดเจน
2.2  ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาล สำหรับช่องทางเดินรถทางเดียว มีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร
2.3  ทางเข้า-ออกหลักของโรงพยาบาล สำหรับช่องทางเดินรถสองทาง เดินรถสวนกัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
3  ส่วนบริการของโรงพยาบาล
3.1  เข้าถึงแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้สะดวกรวดเร็ว
3.2  สะอาดเรียบร้อยปลอดภัยและอำนวยความสะดวก
3.3  มีสถานที่ให้บริการเป็นสัดส่วนและได้มาตรฐาน
3.4  มีบริเวณพักรอของผู้รับบริการที่เพียงพอ
3.5  มีสถานที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุ คนพิการและผู้เสื่อมสมรรถภาพทางกาย
3.6  ห้องผ่าตัดเล็ก มีขนาดพื้นที่ห้องผ่าตัดเล็กไม่น้อยกว่า 12 ตารางเมตร โดยส่วนที่แคบสุดไม่น้อยกว่า 3 เมตร
3.7  ห้องผ่าตัดเล็ก มีความสูงของห้องผ่าตัดเล็กไม่น้อยกว่า 2.60 เมตร แต่ในกรณีที่ความสูงไม่ถึง 2.60 เมตร มีการตกแต่งทำฝ้าให้ต่ำลงมา ต้องมีความสูงที่วัดจากพื้นห้องถึงฝ้าไม่ต่ำกว่า 2.45 เมตร และมีพัดลมดูดอากาศหรือระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
3.8  ห้องผ่าตัดใหญ่ มีขนาดพื้นที่ห้องผ่าตัดใหญ่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร และความสูงไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
3.9  ห้องผ่าตัดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอย (แผนกผ่าตัด) ประกอบด้วย Staff Area, บริเวณรับคนไข้, Transfer Area, บริเวณฟอกมือ เจ้าหน้าที่, Operation Rooms และ Recovery Rooms เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.1  การแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อ มีสถานที่ให้บริการทางการ แพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.11  จิตเวช มีสถานที่ให้บริการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและ/หรือ ความปลอดภัย และเอื้อต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตของผู้มารับบริการและผู้ให้บริการ
3.12  เวชระเบียน จัดแบ่งเป็นสัดส่วน ไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากสัตว์ หรือปัจจัยทางกายภาพ และมีพื้นที่เพียงพอที่จะเก็บเวชระเบียน ได้อย่างน้อย 5 ปี
4  ป้ายนำทาง ป้ายจราจร ป้ายชื่อโรงพยาบาล ป้ายชื่ออาคาร
4.1  มีป้ายนำทางบอกทิศทางและระยะทางสู่โรงพยาบาล ติดตั้งอยู่ บนถนนสาธารณะสายหลัก สายรอง และทางแยกในระยะที่เหมาะสม
4.2  มีป้ายจราจรภายในโรงพยาบาล ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (ประเมินเฉพาะบริเวณส่วนให้การรักษาพยาบาล)
4.3  มีป้ายบอกทางไปยังอาคาร/แผนกต่างๆ มองเห็นได้ชัดเจน พร้อมระบบไฟส่องสว่างที่เหมาะสม
4.4  มีป้ายชื่อโรงพยาบาล ป้ายชื่ออาคารที่เป็นหน่วยบริการสำคัญ ได้แก่ แผนกฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยนอก เป็นต้น ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางวัน และมีไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน
5  ถนนภายในโรงพยาบาล
5.1  พื้นผิวเรียบและไม่มีน้ำขัง
5.2  บริเวณจุดตัดถนน มีป้ายบอกทางชัดเจนและปราศจากสิ่งบดบังสายตา
6  ทางเดินเท้า
6.1  แบ่งขอบเขตของทางเดินเท้าออกจากเส้นทางจราจรของยานพาหนะอย่างชัดเจน
6.2  มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ตลอดเส้นทาง
6.3  ในจุดที่เป็นทางข้ามถนนและมีความต่างระดับ จะต้องทำทางลาดเอียง ให้สามารถนำเก้าอี้มีล้อ (Wheelchair) ผ่านได้โดยสะดวก รวมทั้งต้องจัดให้มีป้ายเตือนผู้ขับขี่ยานพาหนะ ว่าเป็นทางข้ามสำหรับผู้เดินเท้า
7  ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารสำหรับผู้ป่วย
7.1  มีทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารในทุกหน่วยบริการของโรงพยาบาล
7.2  มีความกว้างประมาณ 2.50 เมตร เพื่อสะดวกต่อการเข็นเปลนอนผู้ป่วยสวนกันได้ และไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร
7.3  ติดตั้งราวกันตก สูงประมาณ 1.10 ม.
7.4  ติดตั้งราวจับ สูงประมาณ 0.80-0.90 ม.
7.5  มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่ป้องกันแดดและฝนตลอดแนว
8  ทางลาด สำหรับผู้ป่วย
8.1  กรณีที่ระดับพื้นอาคารมีความต่างระดับกันมากกว่า 2 เซนติเมตร จะต้องทำทางลาดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ
8.2  มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ความลาดชัน 1:12 สามารถเข็นเก้าอี้มีล้อหรือเปลนอนผู้ป่วยได้สะดวกและ ปลอดภัย
8.3  ติดตั้งราวกันตก สูงประมาณ 1.10 เมตร
8.4  ติดตั้งราวจับ สูงประมาณ 0.80-0.90 เมตร
8.5  ทางลาดภายนอกต้องมีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่ป้องกันแดดและฝนตลอดแนว
8.6  ห้องหรือแผนกที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่ที่ชั้น 2 ขึ้นไป ต้องจัดให้มีทางลาดหรือลิฟท์ (BED LIFT)
9  ที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์
9.1  แยกพื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ออกจากแนวทางวิ่งของรถ รวมทั้งแสดงเครื่องหมายทิศทางอย่างชัดเจน
9.2  มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการอยู่ใกล้ทางเข้าอาคารผู้ป่วยนอก และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจน
10  บริเวณรับ-ส่งผู้ป่วยหน้าอาคาร
10.1  มีความกว้างของถนนพอที่รถยนต์คันอื่น สามารถผ่านไปได้ ขณะที่มีรถยนต์จอดรับ-ส่งผู้ป่วย
10.2  ระดับพื้นของบริเวณรับ-ส่งผู้ป่วย ต้องอยู่ในระดับเดียวกับพื้นถนน ถ้าเป็นพื้นต่างระดับ ต้องมีทางลาดที่เหมาะสม
10.3  มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุมที่สามารถป้องกันแดดและฝน
11  ห้องน้ำ-ส้วม สำหรับผู้รับบริการ
11.1  มีห้องน้ำ-ส้วม สำหรับผู้พิการ-ผู้สูงอายุ
11.2  มีราวพยุงตัวติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม
11.3  มีห้องน้ำสำหรับเด็กเล็ก เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
12  บันไดหนีไฟ *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 12.1-12.2)
12.1  มีความกว้างของบันได และชานพักที่สะดวกต่อการใช้งานและไม่มีสิ่งกีดขวาง
12.2  มีตัวเลขระบุชั้นอยู่ภายในตัวบันไดที่มองเห็นได้ชัดเจน
IN  หมวดงานมัณฑนศิลป์
13  งานตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร
13.1  อ่างล้างมือสำหรับแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ ไม่ควรใช้ปะปนกับอ่างเทสิ่งสกปรกหรือล้างวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และก๊อกน้ำควรใช้ก๊อกน้ำชนิดไม่ใช้มือสัมผัส (ก๊อกน้ำชนิดก้านปัดด้วยข้อศอก หรือเป็นแบบเซนเซอร์)
13.2  เคาน์เตอร์สำหรับพยาบาลเฝ้าระวังสังเกตการณ์ TOP เคาน์เตอร์ระดับบนไม่ควรสูงเกินกว่า 90 เซนติเมตร จากระดับพื้นห้อง เพื่อไม่ให้บังสายตาในขณะเฝ้าดูผู้ป่วย
13.3  ห้องตรวจของแพทย์ มีอ่างล้างมือสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 2 ห้องตรวจ ต่อ 1 อ่าง
13.4  เตียงผู้ป่วยควรมีม่านกั้นระหว่างเตียงผู้ป่วยเพื่อบังสายตาระหว่างการรักษา และเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
13.5  มีป้ายติดหน้าห้องหรือหน้าแผนกบริการ ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
13.6  แผนกผู้ป่วยใน บริเวณตั้งเตียงผู้ป่วย ควรมีระยะระหว่างเตียง ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และสามารถนำเปลเข็นเข้าเทียบเตียงผู้ป่วยได้โดยสะดวก
13.7  ห้องผ่าตัด ควรมีอ่างฟอกมือติดกับห้องผ่าตัดอย่างน้อย 2 อ่างต่อ 1 ห้องผ่าตัด และก๊อกน้ำควรใช้ก๊อกน้ำชนิดไม่ใช้มือสัมผัส เช่น ก๊อกน้ำแบบใช้เข่าดันเปิด-ปิดน้ำ หรือแบบเซนเซอร์
13.8  แผนกเภสัชกรรม มีตู้หรือชั้นเก็บยา เวชภัณฑ์ ที่เป็นสัดส่วน และมีตู้แยกเก็บยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่มีกุญแจปิดอย่างมีประสิทธิภาพ
13.9  แผนกเภสัชกรรม มีสถานที่ และโต๊ะสำหรับเตรียมยา – ผสมยา แยกเป็นสัดส่วนจากที่จัดยา
13.1  มีห้องจ่ายยา และจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสม (บริเวณจ่ายยา/ให้คำแนะนำผู้ป่วย/เก็บรักษายา/ผสมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย)
13.11  มีตู้/ชั้นเก็บยาหรือเวชภัณฑ์ที่เพียงพอและเหมาะสม
13.12  มีสถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านยาที่เป็นสัดส่วน
13.13  กรณีมีการเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายในโรงพยาบาล ให้มีสถานที่สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
13.14  แผนกรังสีวินิจฉัย มีป้ายคำเตือน “ผู้ป่วยมีครรภ์โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ”
13.15  มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วยเป็นสัดส่วนและมิดชิด
13.16  การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาในระบบทางเดินอาหาร ต้องมีห้อง สุขาติดกับห้องตรวจ
13.17  มีป้ายสัญลักษณ์แสดงเขตรังสีรักษาและไฟสัญญาณแสดงขณะใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี
13.18  แผนกผู้ป่วยหนัก บริเวณตั้งเตียงผู้ป่วย ควรมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้สามารถวางอุปกรณ์ช่วยชีวิตและสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 13.18)
13.19  แผนกไตเทียม มีสถานที่และเฟอร์นิเจอร์สำหรับพักคอยของญาติผู้ป่วย โดยแยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากบริเวณส่วนของผู้ป่วย *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 13.19)
13.2  แผนกไตเทียม บริเวณตั้งเตียงผู้ป่วยมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 1.10 เมตรและความกว้างของทางเดินระหว่างปลายเตียงของสองฟากเตียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 13.20)
13.21  ห้องฟอกไตเทียม มีขนาดของห้องบริการฟอกเลือดที่สัมพันธ์กับจำนวนเตียง และอุปกรณ์และพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมในการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน โดยมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่าสี่ตารางเมตรต่อหนึ่งจุดบริการ โดยส่วนที่แคบที่สุดไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่สามารถช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้สะดวก
13.22  มีพื้นที่เตรียมน้ำบริสุทธิ์ พื้นที่ล้างตัวกรองแผนกบริการเทคนิคการแพทย์
13.23  มีสถานที่เก็บสิ่งส่งตรวจเหมาะสม สะดวกต่อผู้รับบริการ
13.24  มีสถานที่ปฏิบัติเหมาะสมปลอดภัย มีการแยกพื้นที่ปฏิบัติการเฉพาะ เช่น งานธนาคารเลือด งานจุลชีววิทยาคลินิก เป็นต้น
13.25  มีการเก็บรักษาวัตถุหรือสารเคมีและสารไวไฟ โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีป้ายและฉลากแสดงถูกต้องครบถ้วน
13.26  แผนกบริการแพทย์แผนไทย ห้องอบไอน้ำสมุนไพรรวมต้องแยกห้องให้บริการชาย-หญิง หรือถ้าไม่สามารถแยกได้ ต้องบริหารจัดการเวลาการให้บริการแก่ผู้รับบริการชาย-หญิงได้อย่างเหมาะสม
13.27  แผนกบริการแพทย์แผนไทย ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (ถ้ามี) ต้องมีขนาดตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยแยกห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าชาย-หญิง แต่หากไม่สามารถแยกได้ ต้องบริหารจัดการเวลาการใช้ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของผู้รับบริการชาย-หญิงได้อย่างเหมาะสม
13.28  แผนกบริการแพทย์แผนจีน เตียงสำหรับนวดหรือฝังเข็ม มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.70 เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ความสูงไม่ต่ำกว่า 0.70 เมตร และระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 1 เมตร
13.29  แผนกบริการการแพทย์แผนจีน เตียงต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนจีนกำหนด
LS  หมวดงานภูมิทัศน์
14  ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม
14.1  บริเวณพักผ่อน มีพื้นที่รองรับเพียงพอต่อผู้ใช้บริการ มีความร่มรื่น สวยงาม สงบ มีอากาศถ่ายเทที่ดี และเหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละวัย ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ
14.2  พื้นที่ระหว่างอาคาร มีการจัดภูมิทัศน์ ใช้พรรณไม้ที่ดูแลรักษา ง่าย หรือใช้วัสดุตกแต่งพื้นผิวซึมน้ำ (Porous Pavement)
14.3  มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ เช่น แผนการดูแลรักษาพืชพรรณไม้ แผนการแก้ไขน้ำท่วมขังบริเวณถนน-ทางเดินเท้า แผนการดูแลรักษาความสะอาดไม่ให้มีเศษขยะ แผนการจัดให้มีถังขยะพอเพียง เป็นต้น
ST  หมวดงานโครงสร้าง
15  โครงสร้างอาคาร (ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร)
15.1  มีแผนงานในการเฝ้าระวังให้อาคารมีสภาพพร้อมใช้งานและมั่นคงแข็งแรง
15.2  มีการตรวจสอบสภาพอาคารและบันทึกการตรวจสภาพอาคารพร้อมมีรายงานผลต่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารโรงพยาบาล
15.3  มีการตรวจสอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด
EE  หมวดงานระบบไฟฟ้า
16  ระบบไฟฟ้ากำลัง
16.1  มีแผนผังระบบไฟฟ้ากำลัง (แนวแรงสูงและแรงต่ำ ตำแหน่งหม้อแปลง ตำแหน่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แสดงการจ่ายไฟระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร)
16.2  แนวการปักเสาพาดสายไฟฟ้าเป็นระเบียบเรียบร้อยและปลอดภัย
16.3  บริเวณที่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแบบตั้งพื้นและนั่งร้านต้องมีที่ ว่างเพื่อปฏิบัติงาน และมีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า มีพื้นที่เพียงพอต่อการซ่อมบำรุงและรถซ่อมบำรุงสามารถเข้าถึงได้ มี มีป้ายแจ้งเตือนระวังอันตรายไฟฟ้าแรงสูง
16.4  สายไฟฟ้ามีระยะห่างจากตัวอาคารที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายและมีความสูงจากผิวจราจรหรือทางเดินที่เหมาะสมโดยไม่กีดขวางและไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลทั่วไป
16.5  มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้รับบริการอย่างเพียงพอตลอด 24 ชั่วโมง
16.6  มีการติดตั้งแผงจ่ายไฟฟ้าหลัก (ตู้ MDB) อยู่ในห้องที่ทำด้วยวัสดุ มั่นคงแข็งแรง มีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน สามารถเข้าตรวจสอบและซ่อมบำรุงได้สะดวก มีป้ายแจ้งเตือนระวังอันตรายจากไฟฟ้า
16.7  ตู้สวิทช์ตัดตอน (PANEL BOARD) มีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน สามารถเข้าตรวจสอบได้ง่ายและอยู่ในสภาพที่ยึดติดแน่นมั่นคงแข็งแรง
16.8  มีระบบการต่อลงดินของหม้อแปลงไฟฟ้า และแผงจ่ายไฟฟ้าหลัก (ตู้ MDB)
16.9  มีระบบการต่อลงดินของแหล่งจ่ายไฟฟ้าแยกต่างหาก เช่น เครื่อง กำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน การติดตั้งต้องให้สอดคล้องกับ ATS 3P หรือ ATS 4P
16.1  การต่อลงดินในพื้นที่ที่ไม่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า (กลุ่ม 0) และพื้นที่ที่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า (กลุ่ม 1) สายดินติดตั้งต้องเป็นแบบแยก (TN–S)
16.11  การต่อลงดินในพื้นที่ที่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า (กลุ่ม 2) (ยกเว้นกลุ่ม 1) เช่น บริเวณห้องผ่าตัด,ห้อง ICU ฯลฯ ซึ่งการ จ่ายไฟฟ้าที่ไม่ต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สายดินติดตั้งเป็นแบบแยกออกจากระบบ (IT)
17  ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
17.1  ภายนอกอาคารมีการติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างหรือดวงโคมที่ให้ความสว่างในเวลากลางคืนได้อย่างพอเพียง สภาพของเสาไฟฟ้าและดวงโคมมีการติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
17.2  ภายในอาคารมีค่าความเข้มของแสงสว่างพอเพียงและเหมาะสมต่อพื้นที่ใช้งาน
17.3  ภายนอกอาคารมีอุปกรณ์ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินและป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
18  ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
18.1  มีระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินในการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องสามารถจ่ายไฟใช้งานภายใน 10 วินาที ภายหลังระบบไฟฟ้ากำลังหลักหยุดทำงาน
18.2  เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองต้องอยู่ในที่มิดชิด โดยอาจอยู่ภายในอาคารหลักหรืออยู่เป็นอาคารแยกต่างหาก มีการป้องกันแรงสั่นสะเทือนและเสียงจากเครื่อง มีประตูทางเข้าออกสะดวกและกว้างเพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายหรือซ่อมบำรุง โดยมีระยะห่างโดยรอบจากเครื่องกับผนังไม่น้อยกว่า 1 เมตร
18.3  มีการทดสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเป็นประจำและมีน้ำมันสำรองสำหรับการเดินเครื่องอย่างเพียงพอไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
18.4  ภายในอาคารที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ต้องมีการระบายอากาศที่ดีและสะอาด มีแสงสว่างเพียงพอในการตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
18.5  ต้องมีรางระบายน้ำภายในห้องเครื่องในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือรอบแท่นเครื่องสำหรับการระบายน้ำเวลาที่ทำความสะอาดพื้น
18.6  เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีขนาดกำลังที่เหมาะสมและเพียงพอสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองให้กับดวงโคมและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นในแผนกอุบัติเหตุ ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และธนาคารเลือดเป็นอย่างน้อย
18.7  มีเครื่องสำรองไฟฟ้าฉุกเฉิน (UPS) จ่ายให้กับอุปกรณ์ทางการ แพทย์ที่สำคัญสำหรับวงจรช่วยชีวิตซึ่งไม่สามารถหยุดได้ มีการใช้อย่างต่อเนื่องเพียงพอและเหมาะสม โดยอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
18.8  บันไดทางหนีไฟทางสัญจรห้องเครื่องและหน่วยบริการอื่นๆ ต้องมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพิ่มเติม ตามความเหมาะสมตามมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและ โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินของ วสท.
18.9  ระบบนำทางเรืองแสงเพื่อการอพยพหนีภัย (ถ้ามี) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการอพยพหนีภัย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและประชาชนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
19  ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
19.1  มีการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในทุกชั้นของอาคาร ประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณ ให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง โดยการควบคุมด้วยมือหรือด้วยระบบอัตโนมัติในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น โถงพักรอ ห้องพักผู้ป่วย ห้องทำงาน เป็นต้น
20  ระบบป้องกันการเข้า-ออก
20.1  มีการติดตั้งระบบป้องกันการเข้าออก เพื่อป้องกันการเข้าถึงในสถานที่เฉพาะที่ต้องการความปลอดภัย
20.2  มีระบบหรือวิธีการรักษาความปลอดภัยของพยาบาลใน nurse station
21  ระบบป้องกันแรงดันและกระแสเกิน
21.1  มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันและกระแสเกินที่แผงจ่ายไฟฟ้าหลัก (ตู้ MDB) เพื่อป้องกันแรงดันและกระแสไฟเกินที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ฟ้าผ่า, สวิทต์ชิ่ง, การลัดวงจร เป็นต้น
SN  หมวดงานระบบประปาและสุขาภิบาล
22  ระบบประปา
22.1  มีแผนผังประปา
22.2  มีระบบจ่ายน้ำที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีการรั่วซึมและมีแรงดันเพียงพอต่อการใช้งาน
22.3  มีการสำรองน้ำประปา
22.4  ถังเก็บน้ำสำรองต้องมีฝาถังปิดมิดชิด มีกุญแจล็อค ป้องกันสัตว์ แมลงและคนตกลงไปในถัง
22.5  ระบบสำรองน้ำประปาจะต้องไม่รั่วซึมและติดตั้งในสถานที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อคุณภาพน้ำประปา เช่น ระดับฝาถังเก็บน้ำใต้ดิน ต้องสูงกว่าระดับรางระบายน้ำฝนทั่วไป โดยสำรองน้ำไว้ใช้ได้อย่างน้อย 2 วัน
22.6  มีระบบการทำน้ำบริสุทธิ์ที่ได้มาตรฐาน (Water Treatment System) เช่น Reverse Osmosis, Deionizer) พร้อมเกณฑ์การทำความสะอาดระบบน้ำและควบคุมคุณภาพของน้ำบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา
23  ระบบระบายน้ำและระบบสุขาภิบาล
23.1  มีผังระบบระบายน้ำ และระบบสุขาภิบาล
23.2  มีระบบระบายน้ำฝนจากอาคารสู่แหล่งระบายน้ำสาธารณะ
23.3  มีการแยกประเภทสำหรับท่อต่างๆ
23.4  มีระบบสุขาภิบาลห้องปฏิบัติการ
ME  หมวดงานระบบเครื่องกล
24  ลิฟท์ *** (รพ.ระดับ F ไม่ต้องประเมินข้อ 24.1-24.6)
24.1  มีการแยกประเภทของลิฟต์ตามการใช้งาน ได้แก่ ลิฟต์โดยสาร , ลิฟต์ขนของ , ลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิง
24.2  มีขนาดและจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน
24.3  บริเวณโถงหน้าลิฟต์บรรทุกเตียงคนไข้ ต้องมีพื้นที่สามารถเข็นเปลนอนสวนกันได้
24.4  กำหนดให้มีลิฟต์สำหรับผู้พิการและทุพพลภาพสามารถใช้งานได้
24.5  บริเวณโถงหน้าลิฟต์และภายในห้องโดยสาร ต้องสะอาด มีระบบระบายอากาศและแสงสว่างภายในห้องโดยสารที่เหมาะสม
24.6  กรณีไฟฟ้าดับ จัดให้มีระบบ ARD (Automatic Rescue Device) เพื่อให้ลิฟท์สามารถเคลื่อนไปเทียบยังชั้นที่ใกล้ที่สุดและประตูลิฟท์จะต้องเปิดออกทันที
25  ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ
25.1  พื้นที่ให้บริการและพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องมีอากาศที่สะอาดจากภายนอกเติมเข้าสู่พื้นที่บริการ/ปฏิบัติงาน ให้ได้อัตราการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม ทั้งโดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกล
25.2  มีการควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศในบริเวณห้องตรวจ
25.3  มีระบบควบคุมการติดเชื้อที่ได้มาตรฐาน
25.4  ห้องตรวจผู้ป่วยที่แสดงอาการโรคติดเชื้อทางอากาศ ต้องมีการควบคุมแรงดันอากาศ

ด้านที่ ๔. ด้านสิ่งแวดล้อม

1

 การกำหนดนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม
1.1  มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน
1.2  มีการกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อม
1.3  มีแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือมาตรการตามนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล พร้อมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม
1.4  การเฝ้าติดตามและวัดผลในกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.5  มีการดำเนินการแก้ไขและป้องกันจากกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจติดตามประสิทธิผลของการแก้ไขและการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม
2  การจัดการมูลฝอย (มูลฝอยทั่วไป, มูลฝอยติดเชื้อ, วัสดุและกากของเสียอันตราย)
2.1  จัดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดการมูลฝอย
2.2  มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
2.3  ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด พร้อมจดบันทึกผลการปฏิบัติงานรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
2.4  มีระบบการคัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ตามประเภทของมูลฝอย
2.5  มีการแยกมูลฝอยติดเชื้อระหว่างวัสดุมีคมและวัสดุไม่มีคม ภาชนะมีความคงทน และเหมาะสม
2.6  มีแผนการและวิธีการเก็บขนเคลื่อนย้ายมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
2.7  มีสถานที่พักมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
2.8  มูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักไว้ไม่เกิน 7 วัน หากมีการเก็บกักมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน 7 วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
2.9  มีการกำจัดมูลฝอย (มูลฝอยทั่วไป, มูลฝอยติดเชื้อ, วัสดุและกากของเสียอันตราย) ที่ถูกสุขลักษณะ หรือเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1  มีบัญชีรายการของวัสดุและของเสียอันตรายที่มีในโรงพยาบาล
2.11  มีข้อปฏิบัติและดำเนินการในการจัดเก็บของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย
3  การจัดการน้ำเสีย
3.1  มีการบริหารจัดการปริมาณน้ำทิ้งของสถานพยาบาลให้เกิดความเพียงพอ ปลอดภัย กับความสามารถของระบบบำบัดน้ำเสีย
3.2  ผู้รับผิดชอบในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการอบรม และมีเอกสารแสดงการมอบหมายหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร
3.3  มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน ตามชนิดของระบบบำบัดน้ำเสีย
3.4  ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด
3.5  มีผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และได้รับการอบรมหลักสูตรในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และมีการทบทวนอย่างน้อย 2 ปี/ครั้ง
3.6  มีแผนผังแสดงกระบวนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นปัจจุบัน
3.7  มีอุปกรณ์เบื้องต้นที่จำเป็นในการดูแล ควบคุม ระบบบำบัดน้ำเสีย
3.8  มีการจัดทำเอกสารกำกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ประกอบระบบบำบัดน้ำเสียทุกเครื่อง (ขนาด ชนิด อายุการใช้งานวิธีการใช้งาน ประวัติการซ่อม)
3.9  มีแผนงานการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
3.1  มีการตรวจสอบการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบประจำวัน
3.11  มีการบันทึกและรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
3.12  มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งทุกๆ 3 เดือน ตามมาตรฐานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4  การจัดการน้ำอุปโภคและบริโภค
4.1  จัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลระบบน้ำอุปโภคและบริโภค
4.2  มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
4.3  ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด พร้อมจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน
4.4  มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำอุปโภคและบริโภค ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4.5  มีการตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำประปาประจำวัน และตรวจหาค่าเชื้อโรคประจำเดือน พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบ
4.6  มีการจดบันทึกข้อมูลการใช้น้ำประจำวัน
4.7  มีแผนและการดำเนินการระบบการดูแลรักษาถังพักน้ำหรือถังสำรองน้ำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.8  มีการสำรองน้ำอุปโภคและบริโภค ให้เพียงพอในสภาวะฉุกเฉิน อย่างน้อย 3 วัน
5  การจัดการระบบส่องสว่าง
5.1  มีการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่ปฏิบัติงาน/พื้นที่ให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
6  การจัดการมลพิษทางเสียง
6.1  มีการกำหนดมาตรการ และวิธีการป้องกันการควบคุมมลพิษทางเสียง เช่น ห้องเครื่อง ห้องอัดอากาศ พื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น
6.2  มีการตรวจวัดเสียงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ห้องเครื่อง พื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น
7  การควบคุมมลพิษทางอากาศ
7.1  มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8  การลดปริมาณของเสีย
8.1  มีแผนดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน และติดตามผล เพื่อลดการเกิดของเสีย
9  การจัดการด้านพลังงาน
9.1  มีแผนและการดำเนินงานในการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน

ด้านที่ ๕. ด้านความปลอดภัย

1  การจัดการด้านความปลอดภัย
1.1  จัดให้มีนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงพยาบาล
1.2  จัดให้มีผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล
1.3  จัดให้มีแผนงาน งบประมาณ การติดตามประเมินผล รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานด้าน ความปลอดภัยประจำปี
2  กฎ ระเบียบ มาตรฐานหรือคู่มือปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
2.1  จัดให้มีกฎ ระเบียบ มาตรฐานหรือคู่มือปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงานเหมาะสมกับบริบทของพยาบาล
2.2  จัดทำมาตรการหรือแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตามปัจจัยเสี่ยงของโรงพยาบาล
2.3  มีวิธีการควบคุม กำกับ ติดตามประเมินผล การปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ มาตรฐานหรือคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน มาตรการหรือแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งอย่างต่อเนื่อง
3  การอบรมบุคลากร
3.1  มีการอบรมหรือให้ความรู้บุคลากรทุกระดับตามช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมและทั่วถึง เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ คู่มือความปลอดภัยในการทำงานของโรงพยาบาล และมีการทบทวนความรู้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
3.2  มีการฝึกอบรมให้ความรู้เฉพาะด้านของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานในระบบวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูงหรือลักษณะงานอื่นที่มีความเสี่ยงตามบริบทของโรงพยาบาล โดยวิธี on the job training หรือส่ง อบรมภายนอกและมีการติดตามประเมินผลและทบทวนความรู้อย่างต่อเนื่อง
4  สภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงของบุคลากร
4.1  จัดให้มีการตรวจวัดหรือประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงของบุคลากร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.2  จัดให้มีการตรวจสุขภาพของบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.3  มีการตรวจสอบ ประเมิน ค้นหาความเสี่ยงในระบบวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.4  มีแผนการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา อุปกรณ์ เครื่องจักรกล ในระบบวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูงตามกำหนด อย่างต่อเนื่อง
4.5  มีแนวปฏิบัติฉุกเฉินเมื่อระบบทางด้านวิศวกรรมความเสี่ยงสูง อาทิ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบก๊าซทางการแพทย์ ระบบสุขาภิบาลหรือระบบอื่นตามบริบทของโรงพยาบาล ไม่สามารถใช้งานได้
5  การจัดการแบบแปลนแผนผังงานระบบวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
5.1  มีแบบแปลนแผนผังหรือรายละเอียดข้อมูลของระบบทางวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
5.2  มีระบบการจัดเก็บ ทบทวน แบบแปลนแผนผังหรือรายละเอียดข้อมูลของระบบทางวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
6  การตรวจสอบประสิทธิภาพระบบทางวิศวกรรมของห้องที่ให้บริการทางการแพทย์ที่สำคัญ
6.1  มีการตรวจสอบและการทดสอบระบบการทำงานโดยผู้รับผิดชอบ
6.2  มีการตรวจสอบ ทดสอบ ทวนสอบตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
7  คุณภาพของระบบไฟฟ้า
7.1  มีระบบตรวจติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า ในระบบไฟฟ้าหลักและระบบไฟฟ้าสำรองให้เพียงพอ พร้อมใช้ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
7.2  มีการจัดระดับความสำคัญการจ่ายโหลด มีแผนผัง หรือรายละเอียดข้อมูลของระบบการจ่ายไฟฟ้าสำรอง
7.3  มีการทดสอบ ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองให้พร้อมใช้
7.4  มีการทดสอบ ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์สับเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟ (Transfer switch)
8  การจัดการระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
8.1  มีนโยบายความปลอดภัยด้านการจัดการป้องกันและระงับอัคคีภัย มีผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานในการจัดการระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงพยาบาล
8.2  มีการประเมินสถานภาพการจัดการป้องกันและระงับอัคคีภัยและทบทวนตามระยะเวลาที่เหมาะสม
8.3  มีกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงด้านอัคคีภัย
8.4  มีคู่มือระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงพยาบาล
8.5  มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงพยาบาล
8.6  มีการจัดการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น และอพยพหนีไฟที่สอดคล้องกับกฎหมาย
8.7  มีการตรวจสอบ ทดสอบ บำรุงรักษาระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
8.8  ความพร้อมของเส้นทางหนีไฟ
8.9  จัดเตรียมพื้นที่ หรือกำหนดจุดปลอดภัยในพื้นที่รักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้สะดวก
8.1  จัดเตรียมพื้นที่จุดรวมพลภายนอกอาคารขณะเกิดอัคคีภัย
9  ระบบก๊าซทางการแพทย์
9.1  มีมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อให้ระบบก๊าซทางการแพทย์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
9.2  มีการดูแลรักษา ซ่อมบำรุงระบบก๊าซทางการแพทย์และอุปกรณ์ประกอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
9.3  มีการทดสอบ ตรวจสอบระบบสัญญาณเตือนของระบบก๊าซทางการแพทย์
9.4  มีป้ายคำเตือนหรือสัญลักษณ์หรือตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ไว้ที่บริเวณห้องหรือสถานที่เก็บหรือติดตั้งท่อบรรจุ ถังบรรจุ ห้องระบบจ่ายก๊าซทางการแพทย์ แนวเส้นท่อและบริเวณลิ้นควบคุมประจำชั้นหรือพื้นที่
10  พื้นที่กำเนิดรังสี
10.1  กำหนดหรือบ่งชี้บริเวณพื้นที่ที่มีรังสี มีเครื่องหมาย ป้ายเตือนอันตรายจากรังสี สัญญาณเตือนภัยที่สอดคล้องกับกฎหมายหรือมาตรฐาน ติดแสดงให้เห็นโดยชัดเจน
10.2  มีป้ายสัญลักษณ์ ป้ายเตือนภัยตามแบบมาตรฐานในบริเวณพื้นที่กำเนิดรังสี
10.3  มีเอกสารแสดงผลการตรวจสอบความปลอดภัยของรังสีจากหน่วยงานรับผิดชอบ

ด้านที่ ๖. ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข

1  การจัดหาและติดตั้งของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
1.1  เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้งานในโรงพยาบาลต้องได้รับรองมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และไม่เคยถูกแจ้งเตือนและเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Alerts and Recalls) โดยที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
1.2  การติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิต และต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบเครื่องมือก่อนการตรวจรับ เพื่อตรวจสอบสมบูรณ์พร้อมในการทำงานของเครื่องและความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบสนับสนุนของโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
1.3  ต้องมีการขออนุญาตติดตั้งและใช้งานเครื่องมือ หากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้
1.4  ต้องจัดทำทะเบียนประวัติหรือฐานข้อมูลประวัติเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นปัจจุบัน และมีการประเมินระดับความเสี่ยงของเครื่องมือที่ต้องการการบำรุงรักษา
2  การใช้งานและบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
2.1  ผู้ใช้งานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องผ่านกระบวนการอบรมการใช้งานและบำรุงรักษาจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์
2.2  มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามรอบเวลาครอบคลุมทุกเครื่องมือที่ต้องการการบำรุงรักษารวมถึงเครื่องมือบริจาคตามแผนและรอบระยะเวลาตามข้อกำหนดของผู้ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือตามมาตรฐานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือตามประกาศของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
2.3  ผู้ปฏิบัติงานในการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องมีประสบการณ์หรือคุณวุฒิที่เหมาะสมตามมาตรฐานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือตามประกาศของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
3  ผลการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามรอบเวลาของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
3.1  การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ต้องครอบคลุมการทดสอบหรือสอบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า การทดสอบทางกายภาพภายนอกและฟังก์ชั่นการทำงาน และการบำรุงรักษาตามรอบเวลา
3.2  การบ่งชี้สถานะบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างชัดเจนเป็นปัจจุบันและสืบค้นหาผลการตรวจสอบย้อนหลังได้
3.3  วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ผลิต หรือตามมาตรฐานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือตามประกาศของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
3.4  เครื่องมือมาตรฐานในงานบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความเหมาะสมเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิต หรือตามมาตรฐานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือตามประกาศของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และเครื่องมือมาตรฐานต้องสามารถสอบกลับผลการวัดได้
4  การซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
4.1  มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ชัดเจนในโรงพยาบาล
4.2  ผู้ปฏิบัติงงานซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขต้องผ่านกระบวนการอบรมจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และต้องมีประสบการณ์หรือคุณวุฒิที่เหมาะสมตามมาตรฐานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือตามประกาศของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
4.3  ต้องทำการตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งปรับเทียบเครื่องมือใหม่ หลังจากซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขแล้วเสร็จ
4.4  ผลการซ่อมบำรุงหรือการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข ต้องประกอบไปด้วยคำอธิบายปัญหาและอาการที่เกิดขึ้นของเครื่องมือ หมายเลขอะไหล่ที่ทำการเปลี่ยน ผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงและแผนกหรือหน่วนงานที่แจ้งการซ่อมบำรุงเป็นอย่างน้อย
5  การยกเลิกการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
5.1  มีหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจยกเลิกการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยประเมินจากประวัติและค่าใช้จ่ายในการซ่อมเป็นอย่างน้อย
5.2  เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ถูกยกเลิกการใช้งานต้องนำออกจากพื้นที่ให้บริการทางการแพทย์และบ่งชี้สถานะการยกเลิกการใช้
5.3  เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ถูกยกเลิกต้องปรับปรุงสถานะลงในทะเบียนประวัติหรือฐานข้อมูลประวัติ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้

.ด้านที่ ๗. ด้านระบบสนับสนุนบริการที่สำคัญ

1.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบเรียกพยาบาล
1.2  มีคู่มือการใช้งานของระบบเรียกพยาบาล
1.3  มีแผนผังระบบเรียกพยาบาลที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบเรียกพยาบาล
1.4  มีการตรวจสอบระบบเรียกพยาบาล ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
1.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
1.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
1.7  มีอุปกรณ์สำหรับเรียกพยาบาลที่หัวเตียงผู้ป่วย ในห้องน้ำผู้ป่วย และห้องน้ำคนพิการ
2  ระบบวิทยุคมนาคม
2.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบวิทยุคมนาคม
2.2  มีคู่มือการใช้งานระบบวิทยุคมนาคม
2.3  มีแผนผังโครงข่ายวิทยุคมนาคมที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบวิทยุคมนาคม
2.4  มีการตรวจสอบระบบวิทยุคมนาคม ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
2.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
2.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
2.7  ผู้ใช้งานวิทยุคมนาคมต้องมีบัตรประจำตัวผู้ใช้และบัตรประจำตัวเครื่องวิทยุคมนาคม
2.8  การมีใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3  ระบบโทรศัพท์
3.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบโทรศัพท์
3.2  มีคู่มือการใช้งานระบบโทรศัพท์
3.3  มีแผนผังระบบโทรศัพท์ที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบโทรศัพท์
3.4  มีการตรวจสอบระบบโทรศัพท์ ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
3.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
3.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
4  ระบบเสียงประกาศ
4.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบเสียงประกาศ
4.2  มีคู่มือการใช้งานระบบเสียงประกาศ
4.3  มีแผนผังระบบเสียงประกาศที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ของระบบเสียงประกาศ
4.4  มีการตรวจสอบระบบเสียงประกาศ ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
4.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
4.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
5  ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
5.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
5.2  มีคู่มือการใช้งานระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
5.3  มีแผนผังระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
5.4  มีการตรวจสอบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
5.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
5.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
5.7  มีห้องควบคุมหลักและมีระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูล
6  ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
6.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
6.2  มีคู่มือการใช้งานระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
6.3  มีแผนผังระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
6.4  มีการตรวจสอบระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
6.5  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
6.6  มีระเบียบวิธีปฏิบัติการเข้าใช้เครือข่ายสื่อสารข้อมูล
7  ระบบโทรทัศน์ภายใน
7.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบโทรทัศน์ภายใน
7.2  มีคู่มือการใช้งานระบบโทรทัศน์ภายใน
7.3  มีแผนผังระบบโทรทัศน์ภายในที่เป็นปัจจุบันและมีบัญชีครุภัณฑ์ระบบโทรทัศน์ภายใน
7.4  มีการตรวจสอบระบบโทรทัศน์ภายใน ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
7.5  มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง
7.6  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา
8  ระบบวิศวกรรมในรถพยาบาล
8.1  มีผู้รับผิดชอบ ด้านระบบวิศวกรรมในรถพยาบาล
8.2  มีคู่มือการใช้งานรถพยาบาล เครื่องมือและอุปกรณ์ในรถพยาบาล  download
8.3  เป็นรถพยาบาล ตามกฎหมายและมาตรฐานกำหนด
8.4  มีการตรวจสอบระบบวิศวกรรมในรถพยาบาล ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
8.5  มีแผนและประวัติการบำรุงรักษา

ด้านที่ ๘. ด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ

1  การบริหารจัดการ
1.1  นโยบายด้านสุขศึกษาหรือสร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาล
1.2  บุคลากรดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
2  กระบวนงานสุขศึกษาในกลุ่มไม่ป่วยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
2.1  ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ(HB) และหรือ ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ( HL) ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญตามภารกิจของโรงพยาบาล
2.2  การวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญตามภารกิจของโรงพยาบาล
2.3  แผนงาน หรือ โครงการ หรือ โปรแกรมสุขศึกษา หรือ แผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษาที่มีวัตถุประสงค์หรือตัวชี้วัดพฤติกรรมสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ตามภารกิจของโรงพยาบาล
2.4  การออกแบบกิจกรรมและใช้สื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพและปัญหาความต้องการและวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
2.5  แผนงาน หรือ โครงการ หรือ โปรแกรมสุขศึกษา หรือแผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษาจัดทำโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสุขศึกษา/ทีมสหวิชาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายตัวแทนภาคประชาชน
2.6  แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
2.7  การจัดกิจกรรมตามแผนงาน หรือ โครงการ หรือ โปรแกรมสุขศึกษา หรือ แผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษา
2.8  การสนับสนุน เสริมพลังให้กับภาคีเครือข่าย แกนนำสุขภาพภาคประชาชน ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
2.9  การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
3  กระบวนการสุขศึกษาในกลุ่มป่วยเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยและญาติ
3.1  ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ(HB) และหรือ ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ( HL) ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วย
3.2  มีการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วย
3.3  แผนงาน หรือ โครงการ หรือ โปรแกรมสุขศึกษา หรือ แผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษาที่มีวัตถุประสงค์หรือตัวชี้วัดพฤติกรรมสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วย
3.4  การออกแบบกิจกรรมและใช้สื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพและปัญหา ความต้องการและวิถีชีวิตของผู้ป่วยและญาติ
3.5  แผนงาน หรือ โครงการ หรือโปรแกรมสุขศึกษาหรือ แผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษา จัดทำโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ สุขศึกษา ทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติ
3.6  แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
3.7  การจัดกิจกรรมตามแผนงาน หรือ โครงการ หรือ โปรแกรมสุขศึกษา หรือ แผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษา
3.8  การสนับสนุน เสริมพลังให้กับภาคีเครือข่าย ผู้ป่วยและญาติ ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
3.9  การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
4  ผลลัพธ์การดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
4.1  กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการสุขศึกษามีพฤติกรรมสุขภาพ (HB) หรือความรอบรู้ทางสุขภาพ (HL) ในปัญหาสุขภาพที่สำคัญเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
4.2  กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการสุขศึกษามีภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
4.3  การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ
4.4  งานวิจัย หรือ นวัตกรรม หรือ ต้นแบบ หรือผลงานเด่นที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
4.5  ความพึงพอใจต่อกระบวนการสุขศึกษาตามแผนงานโครงการ
   

ด้านที่ ๙. ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์...

1  โครงสร้างและบทบาท ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.1  มีการจัดทีมดูแลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลประกอบด้วยผู้บริหารและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2  มีการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนพัฒนาของโรงพยาบาลโดยมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศไว้อย่างชัดเจน
1.3  มีนโยบายและแผนการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาล
1.4  มีการจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของหน่วยงานสารสนเทศของโรงพยาบาลที่เหมาะสม
1.5  มีการกำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศหรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐานข้อมูล มาตรฐานรหัสข้อมูล มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัยและความลับของผู้ป่วย มาตรฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานทางกายภาพและสภาพแวดล้อม
2  การจัดการความเสี่ยงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1  มีกระบวนการประเมินและให้คะแนนความเสี่ยงของระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2.2  มีแผนจัดการความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดกลยุทธ์โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน
2.3  มีการดำเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยง
2.4  มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยง และวิเคราะห์ผลการประเมิน จัดทำเป็นรายงาน
2.5  มีการนำผลการประเมินการดำเนินการจัดการความเสี่ยงมาปรับแผนการจัดการความเสี่ยงให้ดีขึ้น
3  การจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1  มีการจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยในระบบ IT
3.2  มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่รับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยรายนั้นได้
3.3  มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ป้องกันความลับผู้ป่วยมิให้รั่วไหลทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทาง Social Media ทุกด้าน
3.4  มีการประชาสัมพันธ์นโยบายและระเบียบปฏิบัติให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบ
3.5  มีการตรวจสอบว่าบุคลากรได้รับทราบ เข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
3.6  มีการประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและนำผลการประเมินมาปรับกระบวนการบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติต่อไป
4  การจัดการศักยภาพของทรัพยากรในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1  มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและ Gap Analysis ของทรัพยากรด้าน Hardware, Software, Network, บุคลากร
4.2  มีการจัดทำแผนเพิ่มหรือจัดการศักยภาพของทรัพยากร ด้าน Hardware, Software, Network
4.3  มีการกำหนดสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ที่จำเป็น (Functional Competency) ของบุคลากรด้าน IT ทุกคน ประเมินสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และจัดทำแผนเพิ่มสมรรถนะรายบุคคล
4.4  มีการดำเนินการตามแผนเพิ่มสมรรถนะและศักยภาพ (Hardware, software, network) และ มีการประเมิน วิเคราะห์ผลการดำเนินตามแผน
4.5  มีการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงแผนเพิ่มศักยภาพให้ดีขึ้น
5  การจัดการห้อง Data Center
5.1  มีการจัดการ Data Center ของโรงพยาบาลให้มีความมั่นคงปลอดภัย
5.2  ห้อง สถานที่ และสิ่งแวดล้อมต้องจัดให้มีความปลอดภัยจากบุคคลภายนอก
5.3  มีระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ระบบตรวจจับควัน ระบบเตือนภัย เครื่องดับเพลิงและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
5.4  มีระบบป้องกันความเสียหายของข้อมูลและระบบ ซึ่งรวมถึง ระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) ระบบ RAID, Redundant Power supply, Redundant Server
5.5  มีการวิเคราะห์ความเหมาะสม มาตรฐาน ความเสี่ยงและความคุ้มค่าในการเลือกใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย ห้อง Data Center
........................